share

ผมร่วงหลังผ่าตัดกระเพาะ

Last updated: 18 Aug 2023
219 Views
ผมร่วงหลังผ่าตัดกระเพาะ

ผมร่วงเป็นหนึ่งในผลข้างเคียงที่เกิดขึ้นได้จากการผ่าตัดกระเพาะอาหารเพื่อลดน้ำหนัก หลายท่านก็จะรู้สึกกังวลว่าถ้าเกิดผมร่วงไปแล้วมันจะขึ้นมาใหม่มั้ยนะ แล้วถ้าขึ้นมาใหม่มันจะเท่าเดิมมั้ย จะร่วงไปตลอดมั้ย วันนี้หมอก็จะมาเล่าเรื่องของการเกิดผมร่วงหลังการผ่าตัดกระเพาะอาหารเพื่อลดน้ำหนักให้ฟังนะคะ

ผมร่วงหลังการผ่าตัดจะพบได้ ประมาณ 30 - 40 เปอร์เซ็นต์ของคนที่ผ่าตัดนะคะ ซึ่งมักจะพบในผู้หญิงที่อายุน้อยค่ะ สาเหตุเกิดจากการที่หลังผ่าตัดร่างกายของเราน้ำหนักลด ทำให้เกิดการสูญเสียโปรตีน หมายความว่าถ้าเกิดน้ำหนักลดไม่ว่าจะเกิดจากการผ่าตัดหรือไม่ก็ตาม ก็มีโอกาสที่จะเกิดผมร่วงได้อยู่แล้ว หลักการคล้ายๆ กับคุณแม่หลังคลอดที่จะมีผมร่วงได้หลังคลอด เสร็จแล้วผมก็จะค่อยๆ ขึ้นใหม่เป็นตอๆ แล้วก็ขึ้นมาเต็มหัวในที่สุด

โดยทั่วไปผมจะเริ่มได้ตั้งแต่เดือนที่ 3 ถึงเดือนที่ 6 หลังจากผ่าตัด ส่วนผมใหม่ขึ้นภายใน 6 เดือนจากเดือนแรกที่เริ่มร่วงนะคะ ยกตัวอย่างเช่น สมมติผมเราเริ่มร่วงเดินที่ 3 หลังการผ่าตัด ผมใหม่ก็จะเริ่มขึ้นตอนเดือนที่ 9 หลังจากผ่าตัด จากนั้นก็จะค่อย ๆ ขึ้นจนเต็มหัวเหมือนเดิมค่ะ ย้ำอีกครั้งนะคะว่าเป็นเริ่มขึ้น ไม่ใช่ขึ้นมาหมดเต็มหัวในทีเดียวค่ะ

การรับประทานอาหารหรือวิตามินให้เพียงพอที่จะไม่ให้ผมร่วงมากขึ้นทำได้ดังนี้

  1. รับประทานโปรตีนให้เพียงพอ ซึ่งก็คือ 1-1.2 กรัมต่อน้ำหนักตัวในอุดมคติต่อวัน (น้ำหนักตัวในอุดมคติเพศหญิงประมาณเท่ากับส่วนสูงลบ 110, น้ำหนักตัวในอุดมคติเพศชายประมาณเท่ากับส่วนสูงลบ 100)

  2. สังกะสี (ซิ้งค์) อย่างน้อย 8-11 มิลลิกรัมต่อวันสำหรับการผ่าแบบสลีฟ และ 16 มิลลิกรัมต่อวันสำหรับการผ่าแบบบายพาส

  3. ธาตุเหล็ก อย่างน้อย 18 มิลลิกรัมต่อวันสำหรับการผ่าแบบสลีฟ และ 45-60 มิลลิกรัมต่อวันสำหรับการผ่าแบบบายพาส

  4. วิตามินซี อย่างน้อย 50 มิลลิกรัมต่อวัน

  5. วิตามินบี12 อย่างน้อย 500 ไมโครกรัมต่อวัน

  6. ไบโอติน อย่างน้อย 120-150 ไมโครกรัมต่อวัน

ดังนั้นแนะนำรับประทานอาหารโปรตีนเป็นหลักต่อไป หรือเสริมวิตามินพวกสังกะสี ไบโอติน คอลลาเจนได้ โดยเลือกเป็นแบบไม่มีน้ำตาลหรือสารให้ความหวาน


อาการผมร่วงที่จะต้องมาพบแพทย์ก็คือผมที่ร่วงนานเกินกว่า 6 เดือนแล้วของใหม่ยังไม่ขึ้น หรือว่าผมเริ่มร่วงตั้งแต่หลังเดือนที่ 6 เป็นต้นไป ซึ่งสาเหตุจะมาจากการรับประทานอาหารได้ไม่ถูกต้อง ขาดสารอาหารบางอย่างจึงควรเข้ามาปรึกษาแพทย์ เพื่อรับการรักษาต่อไปนะคะ


ด็อกเตอร์โยโกะ ผ่าตัดกระเพาะ

บทความที่เกี่ยวข้อง
5 ความเข้าใจผิดเกี่ยวกับการผ่าตัดกระเพาะรักษาโรคอ้วน
วันนี้หมอจะมาเล่าให้ฟังเรื่องการผ่าตัดกระเพาะที่หมอมักจะได้ยินจากคนไข้หรือคนทั่วไปเกี่ยวกับการผ่าตัดกระเพาะเพื่อรักษาโรคอ้วนค่ะ
เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน ท่านสามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้
เปรียบเทียบสินค้า
0/4
ลบทั้งหมด
เปรียบเทียบ
Powered By MakeWebEasy Logo MakeWebEasy